loading

Resolver Feedback

หนึ่งในอุปกรณ์ป้อนกลับตำแหน่ง ความเร็ว ในแต่ละรอบการหมุนที่ได้รับความนิยมมากก็คือ Resolver ลักษณะที่โดดเด่นของอุปกรณ์ป้อนกลับชนิดนี้ก็คือการทำงานแบบโรตารีทรานฟอร์เมอร์ หรือหม้อแปลงหมุน

ชุดขดลวด Primary จะถูกติดตั้งกับส่วนที่หมุน ซึ่งส่วนนี้จะถูกนำไปยึดเข้ากับเพลาของมอเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่เราต้องการจะวัดความเร็ว ขดลวด Secondary จำนวน 2 ชุดจะถูกติดตั้งให้อยู่กับที่และวางระยะห่างกัน 90 องศา เมื่อขดลวด Primary วิ่งตัดผ่านขดลวด Secondary จะเกิดสัญญาณไฟฟ้า Sin และ Cos ขึ้น จึงทำให้ขดลวด Secondary ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าขดลวด Sine-Cos

สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากขดลวด Sine-Cos จะถูกนำมาเข้าวงจรปรับแต่งสัญญาณให้เป็นสัญญาณสามเหลี่ยมเพื่อบอกตำแหน่งของการหมุน สัญญาณสามเหลี่ยมที่ได้จะถูกนำไปคำนวณเป็นความเร็วต่อไป หรือนำไปแปลงเป็น Pulse Train สำหรับการป้อนกลับที่ต้องการสัญญาณแบบ Pulse

ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะผลิตทั้งส่วน Resolver และ ส่วน Feedback Card ออกมาจำหน่าย โดยทฤษฎีทางแม่เหล็กไฟฟ้า จริง ๆ ควรจะทำงานร่วมกันได้แม้จะต่างผู้ผลิต แต่ด้วยการออกแบบวงจรไฟฟ้าที่หลากหลายนี่เอง ผู้ใช้งานจึงเหมือนโดนบังคับให้ต้องซื้อจากผู้ผลิตรายเดียวกัน ผู้เขียนพบปัญหาสัญญาณรูปสามเหลี่ยมไม่สมบูรณ์อยู่บ่อยครั้งเมื่อใช้งานจากต่างผู้ผลิตกัน

จุดเด่นสำคัญสำหรับ Resolver Feedback ก็คือไม่มีส่วนสัมผัสกันระหว่างส่วนที่หมุน (Primary Coil) และส่วนที่อยู่กับที่(Secondary Coil) จึงรองรับการวัดความเร็วรอบได้สูงกว่า 10,000 rpm จุดด้อยจากประสบการณ์ของผู้เขียนก็คือ Resolver Feedback ค่อนข้างมีราคาแพง การติดตั้งต้องมีการตั้ง Alignment ระหว่างส่วนที่หมุนและส่วนที่อยู่กับที่ให้ดี และผู้ผลิตแต่ละรายจะผลิตมาเฉพาะใช้งานกับวงจรของตัวเอง แม้ผู้ผลิต Inverter หลายรายจะผลิต Standard Feedback Card ที่สามารถรองรับสัญญาณ Resolver แต่จะต้องดูรายละเอียดของ Input Voltage Amplitude , Frequency และ Phase ของ Resolver ให้เหมาะกับ Feedback Card

พรีซิชั่น แมชชีน คอนโทรล , 27 March 2020

Write a Reply or Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *