หากเรามองย้อนไปในอดีต จะพบว่าการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีซีเอ็นซี มิได้เกี่ยวข้องเฉพาะแง่มุมสำคัญทางวิศวกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การตัดสินใจในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของผู้ที่มีอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พัฒนาการของเทคโนโลยีด้านนี้ที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และโลกาภิวัตน์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการตลาด การผลิต และประวัติศาสตร์เทคโนโลยีด้านนี้อย่างมีนัยยะสำคัญ
เยอมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
1945 – 1948 อุตสาหกรรมทั้งหมดของประเทศเยอรมันโดนทำลายลง อันเป็นผลมาจากสงคราม ภาคการผลิตของประเทศอยู่ในสภาพพิการ บ้านเมืองถูกทิ้งร้าง การคมนาคมถูกปิด โครงสร้างพื้นฐานเช่นไฟฟ้า แก๊ส และน้ำประปา แทบจะไม่สามารถใช้งานได้เลย เฉพาะภาคการผลิตพื้นฐานเพื่อมนุษยธรรมบางอย่างเท่านั้นที่พอจะดำเนินกิจกรรมได้
1948 (การปฏิรูปทางการเงิน) – 1955 เครื่องจักรกลการผลิต แมชชีนทูล และ อุตสาหกรรมการผลิตถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ในระยะแรกของการสร้าง มาจากพื้นฐานทางเทคโนโลยีเดิมของเยอรมันก่อนสงคราม โดยตั้งแต่ช่วงสงคราม จนถึงช่วงเวลาการฟื้นฟูประเทศในระยะต้น การพัฒนาการเทคโนโลยีแมชชีนทูลไม่มีความแต่งต่างไปจากในอดีตมากนัก เครื่องจักรส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้ทำงานแบบ manual operation คนงานขาดความรู้และประสบการณ์ เครื่องจักรที่สามารถใช้งานได้ ก็ถูกใช้งานเต็มกำลังการผลิตเพื่อผลิตสินค้าจำเป็นพื้นฐานจำนวนมาก
ความต้องการสินค้าหลังสงครามยุตติลง มีอย่างมากมายมหาศาล เครื่องจักรทุกเครื่องในประเทศเยอรมันถูกใช้งาน 2 – 3 กะทุก ๆ วัน ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการผลิตที่กำลังกลับมาขยายตัวขึ้นอีกครั้งจนแรงงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรม ชายชาวเยอรมันกว่า 2 ล้านคน เสียชีวิตลงในสงคราม และอีกกว่า 6 ล้านคน บาดเจ็บ พิการ บ้างก็ถูกจำคุกในฐานะเฉลยสงคราม
แนวทางแก้ไขที่ผู้บริหารประเทศในขณะนั้นเลือกใช้คือการนำเข้าแรงงาน จากทุกประเทศในยุโรปตะวันตก เพื่อซ่อมแซมบ้านเมือง โรงงานอุตสาหกรรม ถนน สะพาน ที่อยู่อาศัย โครงสร้างพื้นฐาน ที่เร่งด่วนที่สุดคือการคมนาคม เพื่อให้บรรลุตามแผนการฟื้นฟูประเทศ เครื่องจักรกลทุกประเภท ยานยนต์ ทุกแบบมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง เครน backhoes และ รถบรรทุก
ภาคการผลิตของประเทศเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มุ่งตรงไปยังการผลิตสินค้าพื้นฐานจำนวนมาก โดยใช้เครื่องจักร manual สายพานการผลิต เครื่องกลกึ่งอัตโนมัติ ผลจากการทำงานอย่างหนักและความต้องการสินค้าพื้นฐานที่มีอย่างมหาศาลทั่งทั้งทวีปยุโรป การเดินเกมส์เมืองที่ฉานฉลาด แรงงานที่ทรงพลัง จึงเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “German Economic Miracle”
ยุคสมัยใหม่ของการพัฒนาเครื่องจักร
เพียงระยะเวลาไม่กี่ปี (ประมาณ 1960 – 1970) ประเทศเยอรมัน ก็อุดมไปด้วยเครื่องจักรประสิทธิภาพสูงที่ถูกนำมาใช้ในการสร้างชาติ อายุการใช้งานของเครื่องจักรเฉลี่ย 5 -6 ปี แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการและเทคโนโลยีของเครื่องจักรส่วนใหญ่ยังเป็นแบบเดียวกับยุคก่อนสงครามโลก
ในเวลาเดียวกัน ช่วง 1960 – 1975 พัฒนาการเครื่องจักรของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพึ่งจะมีอายุเพียง 15 – 17 ปี เท่านั้น อุตสาหกรรมการบิน และ อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกาเข้าสู่ยุคสมัย NC Machine เช่น Turning , Milling และ Machining Center พัฒนาการด้าน NC Technology ของประเทศอเมริกา เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เกิดขึ้นในยุโรป โครงการจำนวนมาก ได้รับการอุดหนุดเงินจากรัฐบาล เช่น อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เครื่องจักร NC ของประเทศอเมริกา ประสบความสำเร็จสูงสามารถจำหน่ายได้ทั่วโลก แต่ก็ยังตามหลังเทคโนโลยี NC ของญี่ปุ่นซึ่งมีราคาถูกกว่า เครื่องจักรจากญี่ปุ่นถูกนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศอเมริกาอย่างมากมาย พัฒนาการด้าน NC Technology ของประเทศญีปุ่นเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดและแซงหน้าทุกประเทศในโลก ระบบควบคุมเครื่องจักรถูกผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก เกิดพัฒนาการต่อเนื่องตามมาในเครื่องจักรหลายประเภท เกิดความต้องการเครื่องจักรสมัยใหม่ และการออกแบบเครื่องจักรแบบใหม่ วิทยาการด้านแมชชีนทูลและพัฒนาการด้าน NC Technology ของญีปุ่น เกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวของผู้ผลิตสัญชาติอเมริกัน ทำให้บริษัทผลิตเครื่องจักรอเมริกัน จำนวนมากต้องสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไป
ในช่วยต้นทศวรรตที่ 1970 ประเทศญี่ปุ่น ได้ทุ่มทรัพยากรมหาศาลกับการพัฒนาสร้างเครื่องจักรแมชชีนทูล ลดความสลับซับซ้อน ใช้งานง่าย และเป็นระบบ NC ที่มีราคาไม่แพง ด้วยเวลาเพียงไม่นาน ประเทศญี่ปุ่นสามารถกลายเป็นเจ้าตลาด ส่งออกเครื่องจักรไปจำหน่ายทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องจักรยังมีความหลากหลาย ออกแบบตามการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป มีมาตรฐานการผลิต ทำงานได้ดีมีเสถียรภาพสูง และในขณะนั้นญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียวที่มี NC Technology ราคาไม่แพง จึงปราศจากการแข่งขัน และที่สำคัญคือ ราคาของเครื่องจักรจากญี่ปุ่นนั้นถูกกว่ามาก
ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตเครื่องจักรเยอรมัน ก็สามารถที่จะขายเครื่องจักรได้อย่างต่อเนื่องในตลาดยุโรป ซึ่งยังเป็นช่วงเริ่มต้นของกลยุทธการทำตลาดของเครื่องจักรจากค่ายญี่ปุ่นและให้ความสำคัญกับการขยายตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลักอยู่ เครื่องจักรจากเยอรมันซึ่งยังคงเป็นเทคโนโลยีก่อนสงคราม จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันในตลาดยุโรปมากนัก
ช่วงกลางทศวรรตที่ 1980 ประเทศญี่ปุ่น สามารถที่ไล่ทันเยอรมัน ในการแชร์ส่วนแบ่งตลาดโลก สัญญาณการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของเยอรมันคือยอดนำเข้าเครื่องจักรจากเยอรมันในหลาย ๆ ประเทศในยุโรปลดลงอย่างต่อเนื่องแทนที่ด้วยเครื่องจักร NC ของญี่ปุ่น