PROFIBUS เป็นมาตรฐานแบบเปิดประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการผลิต และระบบอัตโนมัติจากผู้ผลิตจำนวนมาก ภายใต้มาตรฐานสากล EN50170 และ EN50254 แม้ผลิตภัณฑ์จะมาจากหลากหลายผู้ผลิตก็สามารถที่จะสื่อสารถึงกันได้โดยมิต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ หรือการปรับแต่งเพิ่มเติมแต่อย่างใด
At the sensor-actuator level อุปกรณ์ในระดับนี้จะผลิตสัญญาณลักษณะ 0 และ 1 จะถูกส่งไปยัง Bus ที่มีการแชร์ใช้ร่วมกัน ผ่าน AS-Interface ซึ่งจะทำหน้าที่ในการรับสัญญาณเหล่านี้อย่างเหมาะสม
At field level อุปกรณ์ปลายทาง เช่น I/O modules , Transducers , Drive Units , Analyzer , Terminals จะสื่อสารกันภายในระบบ เรียกรวมว่า Automation System อย่างเป็นเรียลไทม์ การสื่อสารจะในกระบวนการจะเป็นไซท์เคิลในขณะที่ Additional interrupts , Configuration Data และ diagnosis data จะสามารถสื่อสารได้ทันทีตามกำหนดโดยไม่ต้องรอคอยไซท์เคิล
At the Cell level พีแอลซี หรือ คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารระหว่างกันหรือโลกภายนอกผ่านระบบ IT โดยการใช้ Ethernet TCP/IP ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ใช้ในการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ PROFIBUS ที่ถูกพัฒนาให้เชื่อมต่อการคือสารกับ Ethernet TCP/IP คือ PROFInet
Fieldbuses คือระบบการสื่อสารสำหรับอุตสากรรมที่ใช้ตัวกลางเช่น ทองแดง ไฟเบอร์ออฟติค หรือ ไวท์ไฟโดยมีรูปแบบของสัญญาณเดินทางเป็นอนุกรมกันไป โดยสัญญาณเหล่านี้จะมาจาก Sensors , Actuators หรือ Transducers สัญญาณจะถูกส่งไปยัง ระบบควบคุมกลาง หรือ ระบบบริหารจัดการกลาง Field Bus Technology เริ่มคิดค้นในช่วงปี 80 วัตถุประสงค์เพื่อทดแทนการส่งสัญญาณแบบขนานที่ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก โดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอลด้วยความต้องการที่หลากหลาย แตกต่างกันในแต่ละผู้ผลิต การประยุกต์ใช้ที่ต่างกันออกไปเพื่อให้การพัฒนามีความเป็นหนึ่งเดียว สามารถทำงานร่วมกันได้จึงต้องมีการกำหนดมาตรฐานการสื่อสารสำหรับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมให้เหมือนกัน PROFIBUS คือหนึ่งในนั้น
Communication Profiles เป็นการกำหนดว่าผู้ใช้งานจะส่งข้อมูลอย่างไร มี 2 แบบคือ DP และ FMS
DP ถูกใช้งานมากที่สุด มีความเร็วประสิทธิภาพ เหมาะสม การต่อใช้งานไม่ยุ่งยากมาก ออกแบบมาเพื่อการสื่อสารระหว่างระบบอัตโนมัติและอุปกรณ์ต่อพวกปลายทาง
FMS จะถูกประยุกต์ใช้ในงานที่มีความซับซ้อนกับอุปกรณ์อัฉริยะทั้งหลาย ปัจจุบันมีการใช้ PROFIBUS ร่วมกับ TCP/IP ทำให้ FMS ลดความสำคัญลง
Physical Profiles ปัจจุบันมีกการสื่อสารผ่านสายอยู่ 3 แบบคือ
- RS485
- IEC 1158-2
- Optical Fiber
RS485 เป็นเทคโนโลยีที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดของ PROFIBUS ความเร็วในการสื่อสารสูง การต่อใช้งานทำได้ง่ายและต้นทุนไม่สูง สามารถใช้สายทองแดง Twisted pair ที่มีชีลก็เพียงพอต่อการประยุกต์ใช้งานรูปแบบสายส่งสัญญาณ (Bus) ลักษณะนี้จะสามารถเพิ่มอุปกรณ์หรือเอาอุปกรณ์ออก โดยไม่สร้างผลกระทบใด ๆ ต่ออุปกรณ์ตัวอื่นๆ ความเร็วในการสื่อสารจะอยู่ระหว่าง 9.6 Kbit/sec และ 12 Mbit/sec
IEC 1158-2 เป็นการสื่อสารแบบ Synchronous ที่ความเร็ว 31.25kbit/sec เหมาะสมสำหรับกระบวนผลิตที่ต้องใช้ระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่นกระบวนการทางเคมีกระบวนการทางปิโตเรียม ที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยสูงหรือบริเวณที่อาจเกิดการระเบิดได้ รูปแบบสายส่งสัญญาณจะใช้สายเพียง 2 เส้น ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าจากภายนอก อุปกรณ์แต่ละตัวออกแบบให้กินกระแสเพียง 10mA การสื่อสารจะเกิดจากการ modulation สัญญาณ +/-9 mA กับกระแสไฟฟ้าปกติ อุปกรณ์ที่ชื่อว่า Segment Coupler จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณจาก RS485 PROFIBUS เป็น IEC1158-2 PROFIBUS
Fiber Optic เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้าสูง เช่นต้องผ่านหม้อแปลงไฟฟ้า เสาส่งสัญญาณโทรคมนาคม จะทำให้สัญญาณไม่มีความผิดเพี้ยน และสามารถส่งสัญญาณด้วยความเร็วสูงได้ระยะทางไกล PROFIBUS แบบนี้จะนี้ผู้ใช้งานจะต้องเลือกว่าจะต่อสายสื่อสารแบบ Star หรือ แบบ Ring ผู้ผลิตบางรายออกแบบให้มีระบบ Redundant สามารถสลับไปใช้สายสำรอง เมื่อสายหลักได้รับความเสียหาย ผู้ผลิตจำนวนมากมีอุปกรณ์แปลงระหว่าง RS485 กับ Optical Fiber ให้เลือกใช้